วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง VS เศรษฐกิจทุนนิยม














เจอกันในวันโกน วันอาทิตย์ที่24พฤษภาคม2558 คือ วันก่อนถึงวันพระหนึ่งวัน สำหรับชาวพุทธศาสนิกชน ชาวไทย พรุ่งนี้ก็คือวันพระ ที่ชาวพุทธบางท่านตระเตรียม ชำระร่างกายชำระจิต ให้ขาวสะอาดไม่มีบาป ด้วยทาน ศีล ภาวนา ตั้งใจปฎิบัติศีล ให้บริสุทธิ์ในวันพระ ที่วัด และเตรียมซื้อข้าวปลาอาหาร ผลหมากรากไม้ใส่ปินโตไปที่วัด บางท่านสวมใส่เสื้อชุดขาว เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ของผู้มีศาสนา ตั้งใจจะปฎิบัติศีล5หรือศีล8ให้ครบทุกข้อ สมกับชาวไทยมีพระพุทธศาสนามายอย่างนมนาน

 วันนี้ผมจะเขียนเรื่องเศรษฐกิจสักกะหน่อย เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ที่คือเรื่องการอยู่ดีรับประทานอาหารดี    เรื่องปากเรื่องกระเพาะอาหาร ของชาวไทยทุกคน 

   เรื่องการเมืองรัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารงาน จากที่ผมทราบข่าวจากโพลสวนดุสิต เมื่อก่อนเที่ยงวันนี้ จากรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ของคุณสรยุทธ์  สุทัศนะจินดาซึ่งก็ทุกๆรัฐบาล ที่มาบริหารประเทศ มักมีโพลสำรวจ  ประเมินผลงานทางเศรษฐกิจอยู่เรื่อยๆ  โพลจากสำนัก สวนดุสิตโพล ระบุ  เศรษฐกิจ รัฐบาลอยู่ในระดับปกติ และคาดว่าเศรษฐกิจโตขึ้นอีก  ทีมงานเศรษฐกิจ ของรัฐบาล คือ ทีมงามของหม่อมอุ๋ย หรือ มล.ปรีดียาธร  เทวกุล ซึ่ง คสช.และท่านนายกฯพล อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา เรียกเข้ามาทำงานในสถานการณ์การเมืองฉุกเฉิน หลังเข้ายึดอำนาจรัฐประหาร จากรัฐบาลนารีขีม้าขาว คุณยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

 

   ถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมานานหลายทศวรรษ เพราะเป็นเศรษฐกิจของ นายหลวง รัชกาลปัจจุบัน ทรงใช้ มาโดยตลอดนานเกือบ25ปี  จะมีเพียงรัฐบาลของพตท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร ที่ใช้เศรษฐกิจทุนนิยม อย่างกว้างขวางทั่วไป  เน้นการหาเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆพร้อมกับใช้หนี้ของประเทศที่กู้หนี้ยืมสิน จากกองทุนระหว่างประเทศ หรือ IMF ในยุคนั้นหลังจากประเทศไทยแทบล่มสลาย เศรษฐกิจเกือบพังในสมัย รัฐบาลพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ เมื่อปี2540 และต่อเนื่องมารัฐบาลสามสมัย ตั้งแต่ รัฐบาลคุณสมัคร คุณสมชาย และ คุณยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลของฝ่าย พตท.ดร.ทักษิณ ทั้งสิ้น ก็คือเศรษฐกินทุนนิยม นี่แหละ

 

  ต้องยอมรับความเป็นจริง เศรษฐกิจทุนนิยม นี่คือ ทำอะไรก็ได้ให้ได้เงิน มากๆขึ้นกระทั่งร่ำรวย ทางธูรกิจ  เจ้าพ่อทางเศรษฐกิจทุนนิยม คือ สหรัฐอเมริกา จึงจะพบว่า มีเศรษฐีร่ำรวยติดระดับโลกส่วนมากตามข้อมูล ของนิตยสารฟอร์จูน มักเป็นชาวสหรัฐอเมริกา   และประเทศที่ร่ำรวยทางเศรษฐกิจทุนนิยม มีเกือบครึ่งข่อนโลก แม้แถบเอเชีย เรา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์ ล้วนคือ ประเทศเศรษฐกิจทุนนิยม  ซึ่งใช้เศรษฐกิจทุนนิยม จากอเมริกา เพราะต่างส่งคนของประเทศตนเอง ไปร่ำไปเรียน วิชาโลกธุรกิจเศรษฐกิจ จากสหรัฐอเมริกา ทั้งสิ้น  กลับมาทำธุรกิจเศรษฐกิจ ของตนเอง 


   ตามหัวข้อที่ผม ตั้งชื่อเรื่อง เศรษบกิจพอเพียงvsเศรษบกิจทุนนิยม นี้ ท่านผู้อ่านหรือไม่อ่านก็ดี อาจจะตกอก ต้กกะใจ ดูรุนแรง น่าหวาดเสียว เลือดสาด ปานดัง นักมวยคู่เอก  ที่ผมเปิดดู UFC ที่ถ่ายทอดสดจากสหรับอเมริกา   ที่บ้านเพื่อนบ้าน  ช้าวันนี้ มีทั้งเตะทั้งต่อยทั้งปล้ำ ตีศอก มวยคู่ต่อสู้กลางกบาล กระทั่งเลือดอาบ เปื้อนผืนผ้าใบ.....

    แรกๆผมนึกว่ามวยไทย อ้าวพอดูอีกที เหมือนมวยไทยมาก แต่ มันไม่ใช่ มันรวมการต่อสู้กันไว้ทั้งหมด  ผมแทบทำหน้าเยเก ปิดตาผมไว้แทบไม่ทัน เพราะผมดูแล้วเศร้า เพราะอาจจะมีคนตายกลางเวทีมวย  ถ้ามีคนตายด้วยเหตุนี้ มีบาปนะครับ

     พลเมืองประเทศต้องสร้างบุญขึ้นมากๆ  อย่าต่อสู้กันมีเมตตาเอื้อเฟื้อช่วยกัน ถ้ามีอาหารก็แบ่งอาหารกัน ถ้ามีเงินก็แบ่งกันประเทศจะได้   ไม่มีภัยบาปกรรม แก้ปัญหาต่างๆโดยไม่ใช้อารมณ์หรือความรุนแรง ทุกวิธีเข้าแก้ไข  เพราะต่อสู้กันรุนแรงหนักขนาดนี้ ทำไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่ทำเพื่อเศรษฐกิจทุนนิยม เพราะได้ข่าวทางโฆษกมวย บอก ค่าตัวนักมวยอยู่ที่ระดับล้าน  เพราะเศรษฐกิจทุนนิยม ธุรกิจทำอะไรก็ได้เพื่อได้เงินมา จะเป็นบาป จะเป็นบุญ ไม่รู้ ผิดศีลผิดธรรมศาสนา ไม่สน  เพียงแต่ได้เงินรวยขึ้นมา  ผมจึงอยากให้เศรษฐกิจทุนนิยม ทบทวน นิดๆบ้างก็ดี .....

 

แม้ประเทศไทยกำลังเดินหน้าการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เห็นชอบ โดยมีพื้นที่เป้าหมายระยะที่ 1 และ 2 ใน 10 จังหวัดชายแดน และมีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย 13 สาขาสำหรับระยะที่ 1 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ และเซรามิกส์  

     ซึ่งก็แน่นอน ว่า รัฐบาลชุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคง ยั่งยืน  ตามที่ได้ให้ข่าวไว้ทางสื่อฟรีทีวี  ซึ่งอาจจะไม่รวยเท่าเศรษฐกิจทุนนิยม  แต่ก็มีความมั่งคั่งระดับหนึ่ง แต่มั่นคงต่อเนื่องในเบื้องปลาย  ในหมู่กลุ่มเศรษฐีนักธุรกิจ  บริษัท ชาวไทย  

   ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนี้ คือทำธุรกิจอย่างมีเหตุมีผล พอประมาณ อยู่กับเงื่อนไขของความรู้ศีลธรรม คุณธรรม  อันนี้แหละสำคัญ สิ่งที่จะให้ธุรกิจเศรษฐกิจมีบาปหรือมีบุญอยู่ตรงนี้  เศรษฐกิจที่ดีต้องอิงกับศาสนา อย่างเศรษฐกิจบุญนิยม ของท่านพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ แห่งสันติอโศก ตามที่ผมไปศึกษาแล้ว เป็นเศรษฐกิจไม่มีบาปเลย มีแต่บุญ ไม่มีการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนชีวิตสัตว์ เพราะทานอาหารบุญ เช่นผัก เต้าฮู้ ผลไม้ มังสวิรัติ ไม่คดโกง มีแต่ให้  เศรษฐกิจแบบนี้แหละ คือ เศรษฐกิจที่ถูกต้อง เป็นมิตรกับสังคม และสิ่งแวดล้อม 

    แก้ปัญหาแบบ  เอื้ออาทรกับปัญหาสังคมทุกรูปแบบ  ทั้งปัญหาโจรขโมย ก็ต้องเข้าใจเขา ปัญหาแรงงานว่างงานตกงานไม่มีรายได้ ถูกสังคมทุนนิยมเอาแต่เงินเป็นตัวตั้ง ไปบีบรัดกดดัน คนมากเกินไป คิดไม่ออก หาทางไปไม่เจอ สังคมเกิดความเครียด เ ลยจบลงโดยการฆ่าตัวตาย     สังคมชาวไทยและนานานชาติ  จึงต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาสังคมร่วมกัน



  เศรษฐกิจประชาคมอาเซียน ปี2558นี้ ควรต้องดำเนินเศรษฐกิจแบบนี้

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบ อาหาร ทางการเกษตร มีชาวนาชาวสวนทั่วประเทศ ควรเร่งสร้างเขตพัฒนาเศรษฐกิจผลิตอาหาร เพราะเขตจังหวัดภาคอีสานหลายจังหวัดต้องการเป็นเมืองพุทธเกษตร  อาชีพเกษตรอิงกับพุทธศาสนานั่นเอง

 

 

 

ข้อมูลคอลัมนิสต์ ของดร.เสาวรัจ   รัตนคำฟู               กรุงเทพธุรกิจ

 

ผมเห็นด้วย รัฐบาลควรเร่งสร้างเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ชายแดน ถ้าไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้ ก็ ให้ทันที่รัฐบาลชุดต่อๆไป โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจอีสานตอนล่าง อย่าลืมบ้านผม จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยก็แล้วกัน  เพราะถ้าไปสร้างแต่เศรษฐกิจ มั่งคั่ง ที่กรุงเทพ  ผู้คนก็จะหลั่งไหลไปแต่กรุงเทพฯ ทั้งปัญหาสารพัดสาระเพก็จะไปรวมกันที่นั่น ถ้าจะกระจายเศรษฐกิจ ก็ต้องกระจายไปยังเขตเศรษฐกิจ ต่างจังหวัดด้วย และสนับสนุนเป็นพิเศษ  มากๆขึ้นเรื่อยๆ



    ทำกรุงเทพฯให้จิ๋วลง แต่ไปสร้างโครงการเศรษฐกิจใหม่ ยังเขตต่างจังหวัดเช่น โครงการ ขุดคอขอดกระ  รัฐบาลต้องไปคุยกับเพื่อนบ้านด้วยเพราะเป็นอาเซียนด้วยกัน   เป็นเรื่องที่สร้างความมั่งคั่ง ทางเศรษฐกิจภาคใต้ เพิ่มขึ้น คนจะได้ไม่ไปแออัดยัดเยียด  ที่กรุงเทพฯ

 

กิจการที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างมากทั้งจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) และหน่วยงานอื่นๆ โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ในกรณีที่เป็นกิจการเป้าหมาย ได้แก่

(1) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ ยังได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี

(2) ได้รับอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าประปา 2 เท่าเป็นเวลา 10 ปี
(3) ได้รับอนุญาตให้หักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน
(4) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
 (5) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี
(6) ได้รับอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ และในกรณีที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ กิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกระทรวงการคลังในการลดหย่อนภาษีนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 10 ปี

  นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ดังกล่าวแล้ว กิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการกู้ดอกเบี้ยต่ำรายละไม่เกิน1-20 ล้านบาท การใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือซึ่งเดินทางเข้ามาทำงานแบบไปเช้า-เย็นกลับหรืออยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน ความสะดวกที่จะได้รับจากศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนซึ่งจะพิจารณาอนุมัติภายใน 40 วันทำการ และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุข และการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งจะพิจารณาอนุมัติภายใน 1 วันทำการ และการดำเนินกิจการในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร ซึ่งภาครัฐมีโครงการลงทุนในวงเงิน 10,000 ล้านบาทในปี 2558-2559 สำหรับ SEZ ระยะที่ 1

 

    ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การใช้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเครื่องมือในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนนั้น ตนเห็นด้วยว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีหลายอย่างที่ควรปรับปรุง โดยจะเห็นได้ว่า รัฐบาลพยายามส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการให้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่คำถามคือ การมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะทำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้จริงหรือ เนื่องจาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไม่ได้ถูกออกแบบอย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่า จะช่วยเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้หนุนเสริมกันได้อย่างไร โดยประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านควรหารือเพื่อพัฒนาร่วมกัน

 

 นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอ ระบุว่า สิทธิประโยชน์สูงสุดของภาครัฐที่ให้แก่กิจการเป้าหมายซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และการอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ อาจเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศที่ต้องการหลุดพันจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งจำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยเน้นการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่มีแรงจูงใจในการปรับตัวไปสู่กิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษถูกออกแบบมาเพื่อให้แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ก็จะไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาแรงงานต่างด้าวได้ ตราบใดที่นโยบายแรงงานต่างด้าวในระดับชาติยังไม่มีความชัดเจนและไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

 

ในข้อเท็จจริง การใช้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นน่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก ถึงอย่างไร ประเทศไทยจะมีค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านและการส่งออกจากประเทศไทยจะไม่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ไปยังตลาดหลัก การศึกษาของทีดีอาร์ไอเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย ลาวและกัมพูชา พบว่า ต้นทุนการผลิตในไทยสูงกว่าลาวและกัมพูชาถึงร้อยละ 15 เนื่องจาก ต้นทุนค่าแรงในไทยสูงกว่า และไทยไม่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) จากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ดังนั้น จะมีเพียงผู้ประกอบการที่ผลิตเพื่อขายในประเทศที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

 

หากประเทศไทยต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน แทนที่จะใช้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลควรแปลงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้เป็น เขตนวัตกรรมพิเศษ” (Special Innovation Zone: SIZ) โดยเน้นอุตสาหกรรมที่อยู่บนฐานความรู้ (knowledge-based sector) เช่น ซอฟต์แวร์ การออกแบบ การวิจัยและพัฒนา โดยต้องเน้นแรงงานมีทักษะสูงต่างชาติ เช่น โปรแกรมเมอร์ หรือนักวิชาชีพต่างชาติทำงานในไทยได้โดยง่าย แทนการใช้แรงงานทักษะต่ำจากต่างประเทศ เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินการต่อไปคือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนในฐานะเป็นประตู (gateway) สู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเข้าไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ถนน และการปรับปรุงด่านชายแดนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนจำนวนมากได้ โดยแยกกันชัดเจนระหว่างด่านตรวจคนเข้าเมือง และด่านตรวจสินค้า และการสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็จเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ตลอดจน

   เสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เช่น การส่งเสริมบริการทางการค้าชายแดนที่สำคัญ ด้วยการจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์กระจายสินค้าเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูง และการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากการลดอัตราภาษีสินค้าเป็นศูนย์ของประเทศเพื่อนบ้านภายในปี 2561 จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

 

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นเพียงเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายทางนโยบาย ดังนั้น ลำพังการมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจึงไม่สามารถทดแทนการมีนโยบายอุตสาหกรรมและนโยบายแรงงานที่ดีเพื่อทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้ การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจะไม่ประสบความสำเร็จในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน หากไม่ได้ออกแบบโดยมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ที่สำคัญ

  ตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เนื่องจากการดำเนินนโยบายดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยติดอยู่กับการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ การส่งเสริมให้ย้ายการผลิตที่ใช้แรงงานมากไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงถูกกว่า และยกระดับการผลิตในไทยให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยการสร้างเขตนวัตกรรมพิเศษ (SIZ) ที่เน้นการเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น