วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิถีชาวพุทธแท้ หรือ วิถีชาวพุทธปลอม

วัฒนธรรมชาวพุทธ

ตามหลักวัฒนธรรมชาวพุทธ ตั้งแต่อดีตโบราณ ถึง ยุคปัจจุปัน  ตั้งแต่ประเทศไทย ชาวไทยรับเอาศาสนาพุทธจากประเทศอินเดีย ซึ่งหลักจริงๆแล้ว นั้น อ้างถึงหลักปฎิบัติศาสนาพุทธแท้ คือ หลัก ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา  ปฎิยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ เดินตาม อริยมรรคมีองค์8 ....




  ปฎิยัติ คือ ศึกษาทฤษฎีหลักธรรมศาสนา
  ปฎิบัติ คือ นำทฤษฎีหลักธรรมศาสนาไปปฎิบัติ
  ปฎิเวธ คือ ผลของการปริยัติ และ ปฎิบัติ เกิด ผลสำเร็จ มรรค4 ผล 4 ตามลำดับ


  ส่วนจะมีชาวพุทธแท้ ปฎิบัติ ตามได้แค่ไหน  บุดด้าดูดเดิ้ล ก็ไม่รู้ แต่มีหลักอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีบุคคลปฎิบัติ ได้ มรรค 4ได้ผล 4 ตั้งแต่ระดับ โสดา สกิทาคา อนาคามี และ สูงสุด อรหันต์  จะตรวจสอบมรรคผลได้ระดับใด ย่อมรู้ระดับ มรรค ผล ซึ่งกันและกัน.....


 


ส่วนคำว่า ชาวพุทธ ปลอม คือ บุคคลที่ปฎิบัติไม่ได้ ถึง 4 ระดับ ดังกล่าว อาจจะเป็นนักเลงหรือมาเฟีย  นอก ศาสนา หรือไม่มีศาสนา หรือ ที่เรียกว่า ระดับ ปุถุชน ก็ได้.....ซึ่งไม่ถือว่าเป็นชาวพุทธแท้


  และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน เมื่อ 2553 ปีก่อน พุทธศักราช ชาวพุทรกลุ่ม หนึ่ง ยังคง.........ปฎิบัติธรรม ตามหลักไม่มาก ก็น้อย ทั้ง วิถีพุทธแท้ หรือ พุทธปลอม   ท่านผู้อ่าน อาจจะทำตน เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์สังคม ลองสำรวจ ว่า จะมี ชาวพุทธแท้ หรือ ชาวพุทธปลอม มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องควรปฎิบัติธรรมให้สำเร็จก่อน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชาวโลก อันที่จริงข้อมูลตรงเชื่อถือได้มากกว่างานวิจัยกว่าไหนๆ เพราะวิจัยอาจจะได้ข้อมูลผิด คลาดเคลื่นจากความเป็นจริงก็ได้.....


 วัฒนธรรม ที่มาเกิดในโลก หลัง พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือ พระพุทธเจ้าตายจากโลกไป  สืบเนื่องจากเกิดการบันทึกพระธรรมคำสอนโอวาท ของพระพุทธเจ้า ในที่ต่างๆ รวบรวมเป็นพระไตรปิฎก84000 พระธรรมขันธ์ และ ยังเกิดวัฒนธรรม อีกประการหนึ่ง คือ วัฒนธรรม นิยมสร้างพระพุทธรูป และ พระเครื่อง ไว้เป็นที่ระลึกถึง พระพุทธองค์ และ พุทธสาวก เพื่อ คลายเหงา หรือ ระลึกเคารพบูชาต่อพระองค์ .....





 แต่ ไม่ใช่ว่า นอกจาก การปฎิบัติ หลัก ชาวพุทธแท้  ตาม ไตรสิกขา แล้ว การนิยมมีพระเครื่อง ก็ยังเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธอย่างหนึ่ง ที่กำลังเป็นที่แพร่หลาย......




 การเลือก พระเครื่องเอาไว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลกับตัวเองมีหลักพื้นฐานง่ายๆดังนี้ครับ..เนื้อหา อนุญาต เอาข้อความ จากหนังสือ เลือกพระอย่างไรให้ใจเป็นสุข ของ   ษรวัฒน์






1.จริยาวัตรของพระสงฆ์หรือ เกจิ ที่สร้าง  ดีหรือ ไม่ดี ตลอดจนวัตรปฎิบัติของท่านน่าเลื่อมใส และ ศรัทธาหรือไม่
2.เจตนาผู้สร้างเพื่อผลทางพุทธพาณิชย์  หรือ หวังช่วยสัตว์โลกตามวิสัย มีเมตตาธรรม  ถ้าเป็นไปโดยความบริสุทธิ์  ถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่ดี เพราะเจตนาดีอะไรๆก็ดี
3.วัตถุมงคลควรจะได้รับจากมือ หรือ จากสำนักต่างๆ  โดยตรง เพื่อผลทางจิตวิทยา และ ความเชื่อมั่นว่า วัตถุมิได้แปลกปลอม บวกกับมั่นใจในเจตนาของผู้มอบให้โดยเฉพาะ
4.การใส่ห้อยคอควรอาราธนาและ ออธิษฐาน เพื่อขอบารมีพระพพุทธคุณ พระธรรมคุณ และ สังฆคุณ ทุกครั้ง




   ทั้งหมดคือ ข้อแนะนำ แบบง่ายๆ  โดยไม่ต้องอิงกับโฉลก  แต่อยากจะเตือน ใจท่านผู้อ่าน ไว้สักนิด  วัตถุมงคลนั้นมีไว้เป็นข้อเตือนใจเพื่อสร้างกุศโลบายในการทำความดี






การประกอบกรรมดี ช่วยเราจากภัยต่างๆได้ในบางกรณีเท่านั้น   การแขวนพระเครื่องมิได้หมาย

ความว่าผู้ใช้จะพ้นจากนิสัย แห่งกรรม และ ความตาย   เพราะ แม้แต่ผู้สร้างยังตาย  
แล้วคนใช้จะหนีพ้นได้อย่างไร   ฉะนั้น   มีพระเครื่องดีแล้ว   คนใช้ต้องดีด้วยไม่ประมาท ต่อ การก่อกรรมทั้งปวง  แม้ยามตายก็อุ่นใจว่า  ไม่หลงทางสู่อบายภูมิ เพราะต้องกลับไปเป็นดินเหมือนเดิมตามธรรมชาติ



จะห้อยพระอะไร ให้เหมาะสมกับวันเกิดนั้น   ก็ตามแต่กำลังทรัพย์  ตลอดจนความเชื่อสรัทธา  ของผู้อ่าน  แต่ละท่านก็แล้วกันนะครับ  หรือจะไม่ยึดตามวันเกิด  ก็ไม่ผิดแต่ประการใด   พุทธคุณไม่ว่า

จะเป็นพระพิมพ์อะไร  จะปางไหนก็คุ้ม ครองตัวท่านผู้อ่านเสมอ  เพียงแต่ขอให้ท่านเป็นคนดี  มีคุณธรรม  ศีลธรรม   ที่สำคัญต้องห้อยพระแท้และคนต้องแท้ด้วยครับ    เพราะถ้าคนไม่แท้ คือ มีจิตใจหยาบช้า  ไม่ได้อยู่ในศีล 5 ศีล8 ศีลธรรม 227  แล้ว  ห้อยพระไปก็เท่านั้นครับ.....




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น