วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจอดีตนายกฯมาร์คเซ็คช่วยชาติ เศรษฐกิจปราชญ์นายกฯตู่ควรมีเงินเดือนประชาชน




เมื่อเช้าอาทิตย์วันนี้7มิถุนายน2558ผมได้รับฟังข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อเช้าวันนี้ ข่าวเศรษฐกิจประเทศไทยกำลังฟื้นตัวครึ่งปีหลัง


ข่าวเศรษฐกิจครึ่งปีหลังกำลังฟื้นตัวการเก็บภาษี10%

สังคมบริโภคด้วยการกระตุ้นซื้อสินค้า



 
   เรื่องเศรษฐกิจ นี้สำคัญมาก ในการดำรงชีวิตของพลเมืองทุกๆประเทศ  เฉพาะประเทศไทยนี้ บางคร้งก็มีเศรษฐกิจขึ้นๆลงๆไม่แน่นอน ตามสถานการณ์ภายในประเทศ และ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

 

   เมื่อพูดถึง เศรษฐกิจ บางคนอาจจะไม่เข้าใจ เศรษฐกิจ คืออะไร เพราะต้องแปล อธิบายคำภาษา ออกมาอีก นอกจากผู้ที่รำเรียนมาทางสายวิชาเศรษฐศาสตร์ และมีภาษาเศรษฐศาสตร์  เช่นเศรษฐกิจมหภาค เศรษฐกิจจุลภาค หลักซัพพลาย และ ดีมานด์โดยเฉพาะ ซึ่งบางครั้ง ชาวบ้านประชาชนทั่วไป ไม่เข้าใจไม่รู้เรื่อง ถ้าไม่ศึกษา เรียนรู้อย่างจริงจัง 

 

    ถ้าสงสัยเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องเศรษฐกิจ  ไม่ต้องมาถามผมผู้เขียนมากนัก เพราะผมไม่ได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ มากนัก ให้ไปถาม อดีตนายกฯมาร์ค  อภิสิทธิ์   เวชชาชีวะ คงจะอธิบายเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ดีกว่าผม เพราะอดีตนายกฯท่านจบดีกรี ปริญญาเศรษฐศาสตร์มา

 

     แต่ที่ผมพูดเรื่องเศรษฐศาสตร์ ในความคิดผมโดยธรรมชาติ ไม่ได้อ้างหลักทฤษฎีความรู้วิชาการมากนัก เพราะบางที่อาจไม่ใช่ความรู้ ไม่ตรงกับความจริง เพราะผมไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มาโดยตรง   เพียงแต่ผม จะเชื่อมโยงไปสู่หลักธรรม ซึ่งทุกวิชาบนโลกต้อง มุ่งสู่ธรรม

    เพราะถ้าวิชาใดไม่มีธรรม  ถือว่าวิชานั้นไม่ใช่วิชาที่แท้จริง เมื่อประเทศไทยมุ่งสู่ธรรมาธิปไตย เศรษฐกิจจึงเป็นเศรษฐกิจธรรม ที่ผมเคยพูด อันนี้ผมไม่ได้เปิดเรื่องลับ อะไรนะครับ จะพูดเรื่องที่เห็นด้วยตาเปล่าบนโลก  ไม่ได้พูดเรื่องที่ชาวโลกทั่วไปมองไม่เห็น อย่างที่พวกฝรั่งขอร้อง



    เศรษฐศาสตร์ คือ พวกนักวิชาการ เรียกใช้คำนี้ หมายถึงวิชาเกี่ยวกับการค้าการขาย แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างกัน การกระตุ้นการซื้อขายสินค้า ด้วยเงิน สินค้าจะขายได้มากหรือน้อย เป็นไปตามหลักซัพพลายและดีมานด์

หลักซัพพลายคือ สินค้าในตลาดมาก ความต้องการซื้อน้อย

หลักดีมานด์ คือ สินค้าที่ตลาดมีน้อยหายาก  แต่ความต้องการซื้อสูง

 
   ถ้าภาษาชาวบ้าน ประชาชน  อ่านอาจจะไม่เข้าใจ เพราะต้องแปลภาษาไทย เป็นไทยอีก เพราะมันเป็นศัพท์เฉพาะ พูดกันง่ายๆคือ เศรษฐศาสตร์ ก็คือ เศรษฐกิจ ครับท่านผู้ฟัง คือ เศรษฐกิจภาพรวมใหญ่ของประเทศ ครับ  เช่น เศรษฐกิจของประเทศไทย คือ เศรษฐกิจพอเพียง  ส่วนเศรษฐกิจฝรั่ง คือ เศรษฐกิจทุนนิยม อย่างที่ เศรษฐกิจ กลุ่ม จี7 ที่กำลังประชุมกันขณะนี้ ที่กำลังมีข่าวหารือประชุม  ยุติศึกสงคราม ซีเรีย เยเมน อิรัก อีกด้วย

 

 

ถ้าเศรษฐกิจขนาดน้อย ส่วนมากไม่ค่อยใช้คำ เศรษฐกิจ แต่มักจะพบใช้คำ ธุรกิจ แทน เช่น ธุรกิจส่วนบุคคล ธุรกิจภายในครอบครัว ธุรกิจห้างร้าน บริษัทเล็กๆน้อยไม่ใหญ่โตมากนัก   เรียกตนเอง คือ นักธุรกิจ เช่น ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายรถยนต์ ก็คือ นักธุรกิจรถยนต์ ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร ก็เรียกว่า นักธุรกิจปุ๋ย นักธุรกิจน้ำ นักธุรกิจข้าว ฯลฯเป็นต้น

 
   แม่และน้องสาวผม  ท่านทำธุรกิจเกี่ยวกับขายสินค้าไม้ดอกไม้ประดับ  ก็เรียกว่า นักธุรกิจขายไม่ดอกไม้ประดับ

 

   การกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล ที่กำลังมีมาตรการออกมาในอนาคตอันใกล้นี้ อยากให้กระตุ้นเศรษฐกิจระดับล่าง ไม่ใช่กระตุ้นเศรษฐกิจระดับบน 



     เศรษฐกิจระดับล่าง คือ พวกชาวบ้านประชาชน ธุรกิจในครัวเรือน ทั่วไป โดยเฉพาะ เศรษฐกิจเกี่ยวกับการเกษตร เช่น นักธุรกิจปุ๋ย นักธุรกิจร้านอาหาร นักธุรกิจต้นไม้ดอกไม้ประดับ พืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ทุเรียน มะม่วง พืชผัก ผลไม้ทุกชนิด เมื่อใช้เงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจการเกษตร ชาวบ้านชาวไร่ชาวสวน



     ได้รับอานิสงค์เต็มๆ เอาเงินไปกระจายให้ถึงมือประชาชน เช่น ครั้งรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ   มีเช็คช่วยชาติ ให้บุคคลระดับกลาง 15000บาท ได้เฉพาะกลุ่ม คนระดับกลาง  ส่วนคนระดับล่าง ไม่ได้รับผลประโยชน์  

     กลุ่มคนตกงาน ซึ่งมีมากทุกปี ไม่มีรายได้ และรวมทั้งผมผู้เขียน ก็ไม่มีรายได้   รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยคนพวกนี้  เมื่อมีปัญหาคนตกงานมาก ทุกๆวันต้องใช้เงินซื้ออาหารซื้อน้ำ ทุกๆวัน เมื่อไม่มีเงิน ก็คิดเป็นโจร ยักยอก ลักวิ่งชิงปล้นผู้อื่น  ตำรวจก็ตามจับ เข้าคุกเข้าตะราง เป็นปัญหาสังคมเงาตามตัว เป็นลูกโซ่  เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ

 

รัฐบาลต้องไปสืบเสาะบุคคล ที่เข้าข่ายไม่มีงานทำไม่มีรายได้มากๆ มีสภาวะเสี่ยง กับการเป็นโจร  ป้องกันไม่ให้ไปก่อเหตุร้านก่อน   แล้วไปลงทะเบียน หรือ เอาเงินไปกระตุ้นคนเหล่านี้ ตั้งให้เป็นเงินเดือนประจำก็ได้ ที่ไม่กระทบเงินคงคลังมากนัก เข้าข่ายทำนองรัฐบาลให้เงินเดือนประจำกับประชาชนทุกคน แต่ผมไม่รู้ทำได้แค่ไหน  เงินคงคลังมีมากพอหรือไม่ ถ้าไม่พอ 

    ผมสนับสนุนอย่างมากที่ รัฐบาลมีความคิดมาตรการใหม่ๆ หาเงินเข้าคลังมากขึ้น เช่น พรบ.ภาษีมรดก และ ผมได้ยินข่าว อาจจะมีแผนเก็บภาษี เป็น10% จากเดิม7%   ถ้าเมีขึ้นในรัฐบาลนี้ ทำให้มีผลงานมาก ช่วยแก้ปัญหาสังคม คนระดับล่างหาเช้ากินค่ำ คนขอทาน วณิพกพเนจร นอนข้างถรนนรนแคมได้ ดีกว่ารัฐบาลไม่ทำอะไรเลย  เงินที่ยึดมาจากพวกทุจริตคอรับชั่น ก็นำเงินส่วนนี้มาช่วย เงินจากการเก็บภาษีพระก็ได้นำมาช่วย คนเหล่านี้ และมีหน่วยงาน ควบคุมดูแล พวกคนเหล่านี้ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง การเป็นโจรอีก



      ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับบน ไม่ควรไปกระตุ้นมากนัก เพราะมีรายได้พอเพียงระดับหนึ่ง  เช่น กิจการห้างร้าน บริษัท ระดับร้อยล้าน แถมมีสวัสดิการดี  แต่ ชาวบ้านประชานระดับล่างไม่มีสวัสดิการเลย  ส่วนเศรษฐกิจ บริษัทหมื่นล้านแสนล้าน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง บางแห่ง มีบ้านพักตากอากาศฟรี มีรถยนต์ มีเครื่องบินฟรีเป็นสวัสดิการให้พนักงาน 

 

      เมื่อรัฐบาลมีเศรษฐกิจดีตามลำดับ ไม่ฟุ่มเฟือยมากนัก  สามารถทำเป็นรัฐสวัสดิการ กับประชาชน รัฐบาลได้ในอนาคต มีกฏหมายเก็บภาษีแบบ ก้าวหน้า กับบริษัทห้างร้าน ที่มีผลประกอบการกำไรมากๆ ดูดเงิน มาเป็นกองทุนสวัสดิการ คนยากจน และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงการเป็นโจรได้เลย ตรงนี้แหละ สามารถลดความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างคนรวยกับคยจนได้มาก นั่นก็คือ รัฐสวัสดิการ นั่นเอง




      สุดท้ายนี้  ฝากให้รัฐบาล ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปคิดต่อ  ส่วนเรื่องอื่นผมจะทยอย ช่วยรัฐบาลคิด  เป็นระยะๆ ตามโอกาสที่ผมจะคิดได้ จะอยู่ปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง หรือ แต่งตั้ง หรือจะเปลี่ยนระบบประเทศใหม่  ก็ให้มีเหตุมีผล ให้คำตอบกับสังคมได้ก็แล้วกัน ครับ  พุทธธรรม สวัสดีครับ........

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อยากให้รัฐธรรมนูญคือของชาวสวรรค์ ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญของชาวหนู นรก


มาพบกันอีกครั้ง หลังช่วงเทศกาลวิสาขาบูชา วันระลึกถึงวันมหัศจรรย์ ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มาตรงในวันเดียวกัน

 

วันนี้จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการบัญญัติคำ ในรัฐธรรมนูญ จะเขียนแบบธรรมดาๆเข้าใจง่าย ไม่ให้เกิดความบังเอิญ จากธรรมชาติฟ้าดิน เพราะผมไม่อยากให้เกิดความมหัศจรรย์ อภินิหาร งงงวย กับท่านผู้อ่านมากนัก เพราะมีเพื่อนผู้อ่านบางท่านยังไม่รู้ไม่ยอมรับความจริง ยังมีอยู่มาก มักกล่าวว่าผมเขียนเรื่องบังเอิญอยู่บ่อยๆ และที่ผมเขียน จะไม่ตอบโต้ในเรื่องนี้อีก

 

    เมื่อวานนี้ผมได้คลิกอ่านบทความ คอลัมนิสต์ กาแฟดำ หรือ คุณสุทธิชัย  หยุ่น ผู้บริหารหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์และเนชั่นทีวี กรุ้ป

ในเรื่อง ข้อถกเถียงประเด็นว่าด้วย คำว่า พลเมือง กับ บุคคคล หรือ ประชาชน หรือ ราษฎร  ผมจะยกถ้อยคำ หรือ อนุญาตท่านผู้อ่าน คัดลอก ข้อความของ กาแฟดำ มาให้ท่านผู้อ่าน อีกครั้งหนึ่ง

 

    เพราะผมขี้เกียจเขียน เพราะหงุดหงิดกับ ปุ่มคีย์บอร์ด คอมพิวเตอร์ผมเสีย บางทีครั้งรำคาญกับปุ่มคีย์บอร์ดไม่ทำงาน คิดอยากขว้าง ทิ้งลงกล่องขยะ เพราะทั้งหนักก็หนัก ช้าๆดฏช้า เครื่องเสียบ่อยๆแต่ผมอดทนใช้ เพราะ ยังไม่ค่อยมีเงินจ่ายค่าซ่อม ถ้าเขียนอาจใช้เวลาเขียนนานมาก จึงcopyเอาเลย ง่ายดีและรวดเร็ว  ดังนี้คือ

 

  ข้อถกเถียงประเด็นว่าด้วยคำว่า พลเมืองกับ บุคคลหรือ ประชาชนหรือ ราษฎร

 

เป็นหัวข้อสำคัญ ไม่ใช่เพียงความเห็นต่างระหว่างคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กับคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งชาติ หรือ สนช. เท่านั้น

 

เพราะความแตกต่างในความหมายมีนัยสำคัญมากพอ ที่จะต้องมีการถกแถลงกันของคนไทย ในความพยายามจะเข้าใจบทบาทของ เจ้าของประเทศอย่างถ่องแท้

 

ข่าวบอกว่า ครม. และ สนช. บางท่านต้องการให้เปลี่ยนคำว่า พลเมืองในร่างรัฐธรรมนูญเพราะมีความหมายด้านอุดมคติมากเกินไป หรือยึดหลักทฤษฏีมากไป ควรจะใช้คำว่า บุคคลหรือ ประชาชนดั่งที่ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ

 

แต่คุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแย้งกลับว่า คำว่า พลเมืองมีนัยสำคัญ ไม่ใช่เพียงวาทกรรมทำนองเดียวกับ เรือแป๊ะหรือ เกินลงกาแต่ พลเมืองคือความพยายามแก้ไขวัฒนธรรมของราษฎรในการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

 

ผมเข้าไปค้นหาคำนิยามของ พลเมืองในหลาย ๆ แหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ท ก็ได้สาระที่น่าสนใจว่า

 

ประชาชนหมายถึงคนของประเทศ เช่น ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรู้กฎหมาย ใครจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่ได้ คำว่า ประชาชน ในบางครั้ง อาจหมายถึงผู้ที่ไม่ใช่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หรือนักบวช และในบางครั้งหมายถึงผู้ที่มิได้เป็นพ่อค้าด้วย

 

ส่วน ประชากรหมายถึง คนโดยทั่วไป แต่มักใช้ในกรณีที่จะพิจารณาถึงจำนวน คือจำนวนคนของประเทศหรือของโลก ในทางสถิติ มีการใช้คำว่า ประชากร หมายถึงจำนวนของสัตว์ หรือสิ่งที่สำรวจที่พิจารณาด้วย

 

พลเมืองหมายถึง หมู่คนที่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง คนทั้งหมดซึ่งเป็นกำลังของประเทศ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การทหาร และอำนาจต่อรองกับประเทศอื่น โดยนัยของความหมาย คำว่า พลเมือง หมายถึง คนที่สนับสนุนเป็นกำลังอำนาจของผู้ปกครอง เป็นคนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของผู้ปกครอง

 

หากเป็นภาษาอังกฤษคำว่าพลเมืองคงหมายถึง citizen ซึ่งไม่เหมือนกับคำว่า people หรือ population เสียเลยทีเดียว

 

ยิ่งถ้าเป็น บุคคลก็จะแปลเป็น “persons” หรือ “individuals” ซึ่งบางคนก็อาจจะแปลเป็นไทยว่า ปัจเจกซึ่งก็จะยิ่งไกลจากความหมายของการเป็น พลเมืองออกไปอีก

 

ท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่งยืนยันว่าคำว่า พลเมืองมีความหมายแตกต่างจากคำว่า ประชาชนแน่นอน เพราะความเป็นพลเมืองนั้นหมายถึงคนที่มีความสามารถที่จะแสดงความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและส่วนรวม พลเมืองจึงต้องเป็นผู้มีความรู้และเข้าไปช่วยตัดสินใจในปัญหาสำคัญๆ ของสังคม ของชุมชน ของประเทศ หมายถึงเข้าไปอยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีความคิดอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ต่างจากคำว่า ประชาชน ที่กลายเป็นผู้รับคำสั่ง ทำตามผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจึงอยู่ที่การเปลี่ยนให้ประชาชนคนธรรมดาได้กลายเป็นพลเมืองที่มีสิทธิกำหนดทิศทางของประเทศได้

 

หากตีความตามความหมายนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่าคนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องการใช้คำว่า พลเมืองเพื่อตอกย้ำความสำคัญของการทำให้ ประชาชนทั่วไปหรือ ราษฎรกลายเป็น พลเมืองซึ่งมีพลังอำนาจในการต่อรองและพร้อมจะลุกขึ้นปกป้องสิทธิของตน อีกทั้งยังไม่ยอมให้ใครมีพฤติกรรมซื้อสิทธิ์ขายเสียงอันเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

 

คุณบวรศักดิ์บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการเขียนให้ พลเมืองเป็นใหญ่ซึ่งอาจตีความได้ว่าหากประชาธิปไตยเป็นไปตามที่ควรจะเป็นนักการเมืองต้องรับใช้พลเมือง และจะเกิดเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองมีความฉลาด รู้ทัน และมีความภูมิใจในความเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ยอมให้นักการเมืองมาซื้อเสียงหรือใช้เป็นเครื่องมือในการยึดอำนาจรัฐเป็นของตนด้วยวิธีการฉ้อฉลทั้งหลายทั้งปวง

 

แต่ท้ายที่สุด ตัวหนังสือก็คือตัวหนังสือ ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจะสร้างวัฒนธรรมการเมืองที่ เจ้าของประเทศเป็นใหญ่จริง และสามารถกำหนดชะตากรรมชีวิตของตนและประเทศชาติได้จริง ประชาชนก็เป็นได้เพียง พลเมืองชั้นสองเท่านั้นเอง

 

เราจึงต้องเร่งสร้าง Active Citizens หรือ พลเมืองตื่นรู้ทั่วทุกหัวระแหงในประเทศ....ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พลเมืองเป็นใหญ่จะผ่านหรือไม่ผ่าน และจะผ่านด้วยเงื่อนไขอะไรก็ตาม!

 

ข้อความ ข้างบน ที่ท่านอ่านสักครู่ นี้ คือ ข้อความ ของกาแฟดำ ผมอยากให้ข้อแนะนำในฐานะประชาชน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่มีสิทธิเสรีภาพในการเขียน พูด และความคิดเห็นได้

   ตามที่ คุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ จะบัญญัติ คือ สร้างคำภาษา คำว่า ประชาชน หรือ พลเมือง ลงในรัฐธรรมนูญ ฉบับที่กำลังร่างนี้นั้น ผมอยากให้ ท่านสร้างคำภาษาใหม่ เพราะไม่ตรงกับ การพัฒนาประชาธิปไตย สู่ ธรรมาธิปไตย ที่ชาวไทยทุกคนมุ่งหวัง  ผมอยากให้ สร้างหรือบัญญัติคำใหม่ แทน คำว่า ประชาชน หรือ พลเมือง เช่น เปลี่ยนคำว่าประชาชน เป็น ประชาบน หรือ ประชาธรรม

 

ผมยกข้อความ ของกาแฟดำ ที่ว่าประชาชนหมายถึงคนของประเทศ เช่น ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรู้กฎหมาย ใครจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่ได้ คำว่า ประชาชน ในบางครั้ง อาจหมายถึงผู้ที่ไม่ใช่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หรือนักบวช และในบางครั้งหมายถึงผู้ที่มิได้เป็นพ่อค้าด้วย

ซึ่ง ถ้าสมมุติว่า ตกลงกันไม่ได้ ยังยืนยันนั่งยัน จะใช้คำว่า ประชาชน ลงในเป็นภาษา ที่รัฐธรรมนูญ นั้น หมายถึง ประชาชนทุกคน ต้องรู้กฎหมาย แต่ความจริงแล้ว ประชาชน ยังไม่รู้กฎหมาย มีเยอะมาก เกินครึ่งประชากรประเทศด้วยซ้ำ แม้ตัวผมเอง ก็ยังรู้กฎหมายไม่ครบ ยังไม่รู้ไปทั้งหมด มีเพียงแต่ผู้ที่เรียนกฎหมาย นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง แลควรยอมรับความจริง ประชาชน มีขีดจำกัด ทางปัญญา การแสวงหาความรู้ไม่เท่ากัน เพราะง่วนหลงติดหลงสนุกอยู่กับอาชีพการงาน ความชอบความถนัด แต่ละคนอยู่ จะเอาเวลาไหนไปศึกษา กฎหมายทุกฉบับที่มีอยู่หมื่นๆฉบับ  แต่ก็ไม่สิ้นหวังเท่าไหร่ ยังมีทางออก พวกคนที่เรียนกฎหมาย ตามมหาวิทยาลัย ก็ให้สนับสนุนตามธรรมชาติ ให้ตรวจสอบกันเอง ในการเขียนกฎหมาย  การตีความมาตรากฎหมาย  ให้เกิดนิติธรรม มากที่สุด  ผู้เขียนและผู้ใช้กฎหมายต้องเคารพกฎหมาย อย่างถูกต้อง เป็นธรรม  เพราะภาษากฎหมาย บางคำเข้าใจยากมาก ประชาชนอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง  ไปๆมาๆ อาจเกิดศรีธนชัย กฎหมาย หาช่องโหว่ทางกฎหมาย ผู้ออกกฎหมาย เอากฎหมายมาหากินกับประชาชน อยู่เบี้ยล่างตลอด คือไม่ตรงกับความเป็นจริง นั่นเอง  เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบกันเอง

  ควรจะมีสภานักกฎหมายเพื่อประชาชน ไว้ตรวจสอบ คานอำนาจรัฐ ให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชนมากที่สุด

ตามหลักธรรมาธิปไตย นั่น ประชาชนไม่มี เพราะอาจจะเข้าใจผิด ว่า เมื่อสร้างคำภาษา ประชาชน ขึ้นมา  อาจจะทำให้ประชาชน ฮึกเหิม กล้าลุย กล้าชนทุกเรื่อง เพราะมีคำว่า ชน ควรตัด คำว่า ชน ออก  ให้เปลี่ยนเป็นประชาธรรม แทน คือประชามีธรรม คำว่า ธรรม แปลได้อย่างกว้างขวาง หมายถึง ความสงบ ความจริง ความถูกต้อง ก็ได้ ประชาชน คือ ประชาธรรมอยู่ในความสงบ เพราะชนนี้ อาจจะคือการชน อย่างรุนแรง ทำร้าย ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยเฉพาะผู้นำประชาชน ถ้าขึ้นว่าชน ชนแหลก บางทีตายไปกันข้างหนึ่ง ผู้นำทำ ประชาชน ก็มักทำด้วย สิ่งนี้คือการทำบาป ผิดหลักศาสนาผิดศีลธรรม ศีล5ที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม

  และมีอีกคำหนึ่ง ที่ใช้ได้ คือ เปลี่ยน คำว่าประชาชน เป็น ประชาบน  เพราะตามหลักศาสนา นั้นสำคัญและจำเป็น ต่อชีวิตมนุษยชาวโลกมาก  พระพุทธเจ้าทรงสอน มนุษยชาวโลก ให้ตระหนักถึงบุญและบาป เมื่อทำบุญ มีศีล ตายไปแล้ว ก็ขึ้นสู่ข้างบน  หมายถึง สวรรค์   ส่วนเมื่อมนุษย์ทำบาป ไม่มีศีล  ตายไปแล้ว ก็ลงสู่ข้างล่าง คำอธิบายเรื่องสถานที่โลกสวรรค์ข้างบน และโลกนรกข้างล่างนี้  ผมได้อธิบายให้เข้าใจแล้วในสถานะภาพ โลกสวรรค์และโลกนรกคือเช่นไร

 

เอาหละ   ขณะที่ผมเขียน บทความอยู่นี้  ผมยังไม่ได้กินข้าวเช้าเลย เด็กเสริฟเงินเสริฟอาหาร ก็ยังไม่มา คงต้องเป็นพ่อครัว ปรุงอาหารเอง เพราะผมเป็นคนโสด ยังไม่มีเมีย มาเป็นแม่ครัวให้  บางทีผมก็คิดอยากมีเมีย ตามบทเพลง ของ            คุณยอดรัก สลักใจ  ผู้ล่วงลับ  ชื่อเพลง     “อยากมีเมีย ที่ว่า 

“ อยากมีเมีย  ใครช่วยเชียร์ให้ผมมีเมียซักคน  หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์จงแผลงฤทธิ์ ซักหน    โปรดจงดลหัวใจให้หญิงรักใคร่ใฝ่ปอง    ฮา….

 

อยากจะเขียนให้มากกว่านี้อยู่ ยกยอดไปไว้ในโอกาส ข้างหน้า ก็แล้วกัน

 

สรุป มาตรงนี้ ถ้า ข้อคิดเห็นด้วยกับผม ให้ทำรัฐธรรมนูญ เป็นรัฐธรรมนูญศาสนา  คือรัฐธรรมนูญของชาวสวรรค์ ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญของชาวหนู ชาวนรกมีคำประชาธรรม หรือ ประชาบน บัญญัติใน ร่างรัฐธรรมนูญ ปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญชาวสวรรค์  สร้างสรรค์คณะผู้นำธรรม  นำไปทัดเทียมกัน กับ ผู้ตามคือ ประชาชน ประชาธรรม  เพราะผู้นำธรรมสำคัญมากใน ระบบอบธรรมาธิปไตย  ถ้ามีผู้นำดีมีความสงบ  ประเทศก็จะสงบตามไปด้วย

 

     มีนักวิชาการ ทางศาสนา เช่น ท่านนักปราชญ์พุทธศาสนา ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ วัดญานเวศกวัน  .นครปฐม ได้เขียนหนังสือเรื่องนี้ไว้เยอะ เมื่อระบอบประชาธิปไตย พัฒนาสู่ธรรมาธิปไตย คือ ประชาชนมีธรรมเป็นใหญ่ ก็คือ ระบอบประชาชน มีธรรม      เพื่อประชาธรรม และโดยประชาธรรม นั่นเอง ตามบิดาประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา  ประธานาธิบดี ลินคอลน์  คือ ประชาธิปไตยที่พัฒนาขึ้น     หรือ ระบอบที่ประชาชนมีการปฎิบัติธรรมพุทธศาสนาอย่างมีระบบ

ส่วน  เศรษฐกิจ ก็ คือ เศรษฐกิจธรรม บนศาสนา  นำมาเป็นความรู้ประกอบกัน เพื่อธรรมาธิปไตย   รวมทั้งนักวิชาการท่านอื่นๆอีกด้วย รวมทั้งผมผู้เขียนก็เขียนเรื่องนี้ไว้พอสมควร บนเว็ปไซด์บล็อกและเฟสบุ๊คส่วนตัวผม วันนี้ยุติเพียงเท่านี้ พุทธธรรมสวัสดี………