วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

volcano นรกปะทุนรก ล้างปฐพี

พบกันอีกครั้งวันเศร้าในวันเสาร์...ที่จั่วชื่อเรื่องเอาชื่อหนังฮอลลีวู๊ด มาตั้งเป็นชื่อเรื่อง...ช่วงเกิดเหตุแผ่นดินไหว ทีประเทศนิวซีแลนด์...

 ไล่เรียงเหตุการณ์ ภัยพิบัติสึนามิ ถล่มทะเลภาคใต้ ประเทศไทย เมื่อ26ธันวาคม2547 มีนักวิชาการ หากชาวโลกทำบาปทำลายธรรมชาติ พระเจ้าลงโทษ เป็นเพราะกรรมบาปของชาวโลกมนุษย์ทำ อาจจะเกิดสึนามิอีกครั้ง ที่ภูเก็ตเพราะหากเมื่อชาวโลกไม่หยุดทำบาป ถึงจะมีแหล่งข่าว ข้างล่าง
ผมนำมาจากเว็บไซด์ ที่หนึ่ง  เพราะผมจะหยุดการเปิดเผย เพราะไม่ค่อยสะดวกในการเขียน รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือ ทีมงาน..อันที่จริง พระอาจารยืหลวงปู่มั่น เคยเขียนเผยแพร่ลงในหนังสือธรรมะ ภัยบาปถล่มโลก เกิดจากการที่ชาวโลก ทำบาป ผิดศีลธรรม เบียดเบียนระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันและสัตว์โลก และขึ้นอยู่กับ จริตนิสัยของชาวโลก แสดงว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติถล่มโลกนั้น ขึ้นอยู่จริตนิสัย การกระทำกรรมของชาวโลกทั้งสิ้น ... ถ้าอยากช่วยโลกป้อง ให้ภัยลดลง ต้องพากัน ฝึกปฎิบัติธรรม โลภ โกรธ หลง ให้ลดลงจางลงเรื่อยจนหายไปจากจิตใจ.....
ถึงเวลาที่ประเทศไทย... จะ ประกาศปฎิวัติปฎิบัติธรรมเป็นวาระแห่งชาติได้หรือยัง คนไทย และ ชาวโลกพากัน ละ กิเลส ปฎิบัติธรรม เป็นวัฒนธรรม

พุทธพยากรณ์ของหลวงปู่มั่น
อุบัติภัย 3 อย่างที่จะเกิดขึ้นมากน้อย ตามจริตนิสัยของชาวโลก

1ยามใดที่ชาวโลกมีความโกรธเยอะ จะเกิดอุบัติภัยด้วยไฟ
2ยามใดที่ชาวโลกมีความหลงเยอะ จะเกิดอุบัติภัยด้วยน้ำ
3ยามใดชาวโลกเกิดความอยากโลภ จะเกิดอุบัติภัย ด้วย ดิน
พุทธพยากรณ์ของหลวงปู่มั่น





นักวิทยาศาสตร์ฟันธงโอกาสเกิดสึนามิในไทยกลางปี 2553 เป็นไปได้ยาก แม้จะเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ก็จะเกิดคลื่นชิลๆ เพียง 10 ซม.ที่ภูเก็ต

นักวิทยาศาสตร์ฟันธงโอกาสเกิดสึนามิในไทยกลางปี 2553 เป็นไปได้ยาก แม้จะเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ก็จะเกิดคลื่นสูงเพียง 10 ซม. ในภูเก็ต ไม่กระทบไทยแม้แต่น้อย เรียกร้องให้การให้ข้อมูล รวมถึงการรับข่าวสารในประเด็นอ่อนไหวเป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีแหล่งอ้างอิง ไม่ใช่แค่สมมุติฐาน
 ตามที่มีการกล่าวอ้างข้อมูลจากงานวิจัยของศ.จอห์น แมคคลอสคีย์จากสถาบันวิจัยนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอัลส์เตอร์ ไอร์แลนด์เหนือ ว่า อีกไม่นานจะเกิดสึนามิอีกครั้ง และจะส่งผลให้ไทยได้รับผลกระทบมหาศาล โดยเฉพาะ 6 จังหวัดทางตอนใต้ในช่วงกลางปี 2553 สร้างความตื่นตระหนก กังวล และสับสนให้กับประชาชน
 “โอกาสจะเกิดสึนามิในประเทศไทย มีน้อยมาก เช่นเดียวกับโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในแถบอันดามัน” ดร.สธน วิจารณ์วรรณ-ลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยย้ำชัดในงานเสวนา “ซึนามิในประเทศไทยที่อาจจะเกิดขึ้นในปี 2553 ร้านแรงจริงหรือ?”
 สำหรับข่าวจากงานวิจัยของศ.จอห์น แมคคลอสคีย์จากสถาบันวิจัยนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอัลส์เตอร์ ไอร์แลนด์เหนือ ดร.สธนชี้ว่า การนำเสมอมีความคลาดเคลื่อน รายงานวิชาการฉบับจริงนั้น สรุปได้ว่า รายงานความเสี่ยงการเกิดสึนามิบริเวณสุมาตราตอนใต้ โดยที่รายงานไม่ได้ระบุว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด  และบริเวณที่จะเกิดห่างออกไปทางตอนใต้ ห่างออกจากประเทศไทยเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดใกล้ประเทศไทยดังที่มีการนำเสนอ
 ที่สำคัญ ผลกระทบต่อไทยนั้นน้อยมาก จากข้อมูลที่มาจากการศึกษานำไปทำแบบจำลองสึนามิพบว่า สึนามิมีการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และแบบจำลองชี้ว่า อาจเกิดคลื่นที่ภูเก็ตสูงเพียง 10 เซนติเมตร น้อยกว่าคลื่นปกติด้วยซ้ำ
 นักฟิสิกส์ชี้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่จะก่อให้เกิดสึนามินั้น จะต้องอาศัยเวลาในการสะสมพลังงานกว่าที่จะต้องปลดปล่อยจนเกิดแผ่นดินไหว และสามารถบอกได้เลยว่า ไม่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว ณ จุดเดิมได้อีกครั้งในเวลาอันสั้น
 ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวในแถบอันดามันมีโอกาสน้อย เพราะเกิดการปลดปล่อยพลังงานครั้งใหญ่ไปแล้วในปี 2547 และ 2548
 ในขณะที่โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่พอที่จะทำให้เกิดสึนามินั้น ดร.สธนชี้ว่า มีโอกาสที่จะเกิดทางเกาะสุมาตราตอนใต้ ซึ่งจะเป็นแผ่นดินไหวระดับ 8 และสำหรับประเทศไทย มีการคาดการณ์ผ่านแบบจำลองว่า จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวเพียงคลื่นสูง 10 เซนติเมตรที่ภูเก็ตเท่านั้น
 “ข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้อีกหนึ่งประการคือ ผลการวิจัยตะกอนทรายที่เกิดขึ้นจากสึนามิ ของดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้วและคณะจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ให้เห็นว่า ไทยมีการเกิดสึนามิหลายครั้ง และแต่ละครั้งห่างกันกว่า 600 ปี” ดร.สธนกล่าวก่อนชี้ว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Nature ที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
 ด้านผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง จากศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การให้ข่าวที่เกี่ยวกับพิบัติภัยธรรมชาติ จำเป็นต้องมาจากแห่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงได้ ไม่ควรเป็นความเชื่อส่วนตัว หรือการตั้งสมมุติฐานเอาเอง
 ฉะนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ นักวิชาการย้ำ หากมีเหตุการณ์ที่ต้องการข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ สามารถโทรศัพท์ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “สายด่วนวิทยาศาสตร์” 02-218-5555 ที่มีนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมหาคำตอบ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น